นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อโรคไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคใบหงิก หรือ ใบจู๋ อีกด้วย
ที่ผ่านมาพี่น้องเกษตรกรชาวนาจะใช้สารเคมีหลายชนิดผสมกัน และต้องใช้ในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แถมยังต้องร่นระยะเวลาการฉีดสารเคมีให้สั้นลง จากเดิมฉีดพ่นทุก 7-10 วัน มาฉีดพ่นทุก 3-10 วัน เพราะสายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นมีภูมิต้านทานต่อสารเคมียาฆ่าแมลงที่มากขึ้นนั่นเอง
ถึงเวลาแล้วละครับที่เกษตรกรชาวนายุคใหม่ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนวิธีและแนวทางในการกำจัดศัตรูพืชวายร้ายตัวนี้ในนาข้าว หลีกหนีสารเคมี ยาฆ่าแมลง ที่นับวันต้องฉีดเพิ่มมากขึ้น ผลเสียตกต่อตัวเกษตรกรเองทั้งนั้น
สารจุลินทรีย์ชีวภาพ“เชื้อราบิวเวอร์เรีย”เชื้อราชนิดนี้จัดเป็น จุลินทรีย์จำพวก “เชื้อราทำลายแมลง” สามารถเข้าทำลายศัตรูพืชและเพลี้ย โดยการผลิตเอมไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช เมื่อเกษตรกรชาวนาฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว สปอร์ของเชื้อราจะไปเกาะติดอยู่กับผนังลำตัวของศัตรูพืชและเพลี้ย และเริ่มเข้าสู่ลำตัวผ่านทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลตามผิวหนัง
เมื่อความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว และเริ่มขยายตัวโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร และเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ศัตรูพืชและเพลี้ยจะเริ่มป่วย และล้มตาย เมื่อศัตรูพืชและเพลี้ยได้ตายลง เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวออกสู่ภายนอกตัวแมลง สปอร์สามารถแพร่กระจายไปตามลม ฝน หรือติดกับตัวแมลงไป เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อราสามารถขยายพันธุ์ต่อ และเข้าไปทำลายศัตรูพืชและเพลี้ยต่อไปได้อีก
#ฉีดพ่นให้ครอบคลุมเสมือนมียามคอยเฝ้าระวังในนาข้าวกำจัดเพลี้ยคิดถึง“เชื้อราบิวเวอเรีย”ตรา ลาเซียน่า (LASIANA) ชัดเจน เห็นผลจริง ศัตรูพืชตายเรียบ
สนใจสอบถามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ KOKOMAX
ทักเรา https://www.facebook.com/messages/kokomaxthailand
LINE : @KOKOMAX และ KOKOMAX8888
Web : http://www.kokomax.com